วิสัยทัศน์เครือข่าย 
เขียนโดย Tanabat Panpatkul
หมวด: /

วิสัยทัศน์เครือข่าย

           องค์กรเข้มแข็ง บริการดีมีคุณภาพ ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

พันธกิจเครือข่าย

            พัฒนาระบบบริหารยึดหลักธรรมาภิบาล มุ่งเน้นระบบบริการเป็นเลิศ สร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม

วิสัยทัศน์ : โรงพยาบาลชุมชน  ที่มีคุณภาพ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ (ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม)  เป็นที่ไว้วางใจของชุมชน 

พันธกิจ  : โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา  เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ ควบคู่กับการสร้างสุขภาพร่วมกับชุมชน ด้วยพฤติกรรมบริการที่ดี มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจสูงสุด

กำหนด core competency ของโรงพยาบาล

  1. การสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับชุมชน

         มีการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มดี กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย  ทุกจุดบริการ  ในกลุ่มเจ้าหน้าที่  ผู้ป่วยและญาติ  ชุมชน

  1. บริการเป็นเลิศ Smart Service 

                            - รู้(ใจ)คน

                            - เข้าใจงาน

                            - สื่อสารเป็น      

บุคลากรเก่ง 4 วิชา นำพาสู่ความสำเร็จในการบริการที่เป็นเลิศ

  • วิชาชีพ (งาน หน้าที่ความรับผิดชอบ)
  • วิชาชอบ (สนใจ ใฝ่รู้)
  • วิชาช่วย (ภาษา ระบบไอที)
  • วิชาชีวิต (คุณธรรม จริยธรรม)

จัดบริการเชิงรุก

- Customer Service Plan : มีแผนการบริการผู้มารับบริการ

- Customer Focus : เน้นลูกค้าหรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

- Service Mind : จิตบริการ

 - Skill & Enthusiastic Service: ทักษะ ความรวดเร็ว และความชัดเจนในการให้บริการ

 

  วิสัยทัศน์ : โรงพยาบาลชุมชน  ที่มีคุณภาพ เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นที่ไว้วางใจของชุมชน

  วิสัยทัศน์ : มีคุณภาพ

ประเด็นคุณภาพ (Five Quality)   หมายถึง

  1. พฤติกรรมบริการดี

            กิจกรรม        - กำหนดมาตรฐานพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลถ้ำพรรณรา (การพูดจา การตอบสนองต่อผู้รับบริการ การรับโทรศัพท์ การแต่งกาย )

                              - กำหนดเกณฑ์ประเมินเจ้าหน้าที่เรื่องพฤติกรรมบริการ

            วิธีการวัด      - เจ้าหน้าที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานพฤติกรรมบริการของโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา ภายใน 5 ปี 100%

                               - จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมบริการ แนวโน้มลดลง

  1. ผู้รับบริการพึงพอใจ
  2. กิจกรรม        - สำรวจความพึงพอใจและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการและชุมชน

                  - พัฒนาระบบการไกล่เกลี่ย และ การรับเรื่องร้องเรียน

                  - พัฒนาระบบการบริการด่านหน้า

                  - ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก

            วิธีการวัด      - อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ ภายใน 5 ปี 90%

 3 รวดเร็ว

               กิจกรรม         - ลดขั้นตอนการให้บริการ 

                               - ปรับระบบนัด 

                               - ลดระยะเวลารอคอย 

                               - ประกันเวลาทุกจุดบริการ 

               วิธีการวัด      - ประกันเวลาทุกจุดบริการ ภายใน 5 ปี มีการประกันเวลา100% 

-ผ่านเกณฑ์ มากกว่า 80%

 4 ปลอดภัย   

           กิจกรรม         - สำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในกลุ่มเจ้าหน้าที่ (HSCS)

                    - 2P safety  (SIMPLE)  ใช้โปรแกรม NRLS on cloud

                    - สิ่งแวดล้อมปลอดภัย  เอื้อต่อการให้บริการ

                    - วิเคราะห์ near miss 100% เพื่อวางมาตรการป้องกันไม่ให้เกิด AE

           วิธีการวัด      

                              - จำนวน AE

                              - จำนวนความเสี่ยงระดับ G H I ลดลง

                              - ความเสี่ยง Non Clinic ระดับ 3 4 ลดลง

  1. ผลลัพธ์ดี ด้านบริการ ด้านบริหาร

       ด้านบริการ 

      กิจกรรม - พัฒนาระบบการดูแล  ด้านการรักษา (โรคที่เป็นเข็มมุ่ง) ให้ครอบคลุม

          - พัฒนาระบบการดูแล  ด้านการฟื้นฟู (โรคที่เป็นเข็มมุ่ง)  ให้ครอบคลุม

          - มีระบบควบคุมคุณภาพ  (QC)  และ มีระบบประกันคุณภาพ(QA)

       วิธีการวัด - ร้อยละผลลัพธ์ด้านการรักษาโรคที่เป็นเข็มมุ่ง มีแนวโน้มดีขึ้น 100%

                    - ร้อยละผลลัพธ์ด้านการฟื้นฟูโรคที่เป็นเข็มมุ่ง มีแนวโน้มดีขึ้น 100%

                    - มี CQI นวัตกรรม ครอบคลุมทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล 100% และโรงพยาบาลมีการส่งประกวดระดับจังหวัด ระดับเขต  

     ด้านบริหาร   กิจกรรม วิธีการวัด 

  1. เพิ่มรายได้ - เพิ่มรายได้  5%
  2. ลดรายจ่าย - ลดรายจ่าย 5 %
  3. ระบบการจัดเก็บ – มีการทบทวนระบบการจัดเก็บทุกสิทธิ 100 %
  4. ระบบสารสนเทศมีความสมบูรณ์ครบถ้วน ตั้งแต่หน้างาน เช่น รหัสโรค หัตถการ  ยา วัสดุการแพทย์ – ร้อยละความสมบูรณ์ของข้อมูลในระบบ Hos-XP ของหน่วยงาน

      5.มาตรฐานระบบบริการสุขภาพ  ผ่านระดับดี

      6.Green & Clean  ผ่านระดับดี  

      7.ITA

วิสัยทัศน์ :  เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ (Five Groups PP)  สร้างเสริมสุขภาพ 4  กลุ่มวัย+เจ้าหน้าที่

1.มารดา ทารก ปฐมวัย (0-5 ปี)

2.วัยเรียน วัยรุ่น เยาวชน (6-20 ปี)

3.วัยทำงาน (21-59 ปี)

4.ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส (60 ปีขึ้นไป)

5.เจ้าหน้าที่

ผู้สูงอายุ

  • กลุ่มดี กลุ่มติดสังคม (ADL มากกว่า 12 ขึ้นไป) ส่งเสริมสุขภาพจิต สุขภาพกาย คัดกรองปัญหาสุขภาพ 10 เรื่อง 100% กิจกรรมส่งเสริมผู้สูงอายุ 3อ. 2ส. 1ฟ. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจฟัน ได้รับการคัดกรองสมองเสื่อม ชมรมผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ADL สูงขึ้น ผู้สูงอายุ
  • กลุ่มติดบ้าน (ADL 5-11) ร้อยละกลุ่มติดบ้านที่สามารถเปลี่ยนเป็นกลุ่มติดสังคม เป้าหมาย 5 ปี40%
  • กลุ่มติดเตียง (ADL 0-4)

มารดา ทารก ปฐมวัย (0-5 ปี)

  • ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  • ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

วัยเรียน วัยรุ่น เยาวชน (6-20ปี)

  • Teenage pregnancy (19 ปี 11 เดือน) ท้องซ้ำ การคุมกำเนิด
  • คลินิกเด็กอ้วน (แป้ง,โภชนากร) เป้าหมาย ร้อยละของเด็กอ้วนเปลี่ยนเป็นเด็กปกติ (ประถม,มัธยม)

วัยทำงาน (21-59 ปี)

  • เสี่ยง NCD ได้รับการคัดกรอง DM HT 100%  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  อัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน  ความดัน รายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง
  • ได้รับการคัดกรอง CVD risk ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด Stroke MI
  • TB คัดกรอง 7 กลุ่มเสี่ยง มากกว่า 80%  TB อัตราการขาดยา
  • วิถีชีวิตคนตัดยาง (ทำร่วมกับ รพ.สต.แพรกกลาง) อาชีวอนามัย กายภาพ แป้ง พี่หรั่ง

กลุ่มเจ้าหน้าที่

มีการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มดี (ส่งเสริมสุขภาพ) กลุ่มเสี่ยง (เน้นเรื่องการคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) กลุ่มป่วย (ฟื้นฟู ลดภาวะแทรกซ้อน)  ตรวจสุขภาพ 100%

  • กลุ่มเสี่ยง DM ภายใน 5 ปี หาย 90%
  • กลุ่มไขมันในเลือดเกิน (DLP) ภายใน 6 เดือน เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย
  • รอบเอว ลดลงปีละ 1 ซม. ในกลุ่มที่มี BMI เกิน
  • ปลอดยาเสพติด 100%
  • ปลอดบุหรี่ 100% เจ้าหน้าที่ไม่สูบบุหรี่ 100% 
  • แบบประเมินสมรรถนะทางสุขภาพจิตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผ่านเกณฑ์ทุกปี 100%

วิสัยทัศน์ :      เป็นที่ไว้วางใจของชุมชน

               กิจกรรม

          - สำรวจความไว้วางใจของชุมชนหลังรับบริการ

          - ทำประชาคมในชุมชน เรื่องความไว้วางใจของชุมชนในการรับบริการของโรงพยาบาล

วิธีวัด

          - วัดจำนวน OP Visit กลุ่มผู้รับบริการที่มีทางเลือก (สิทธิข้าราชการ อปท. ประกันสังคม ชำระเงิน)

          - ร้อยละผู้รับบริการมีความคิดเห็นมารับบริการซ้ำและแนะนำให้ผู้อื่นมารับบริการ

          - จำนวนอุบัติการณ์ข้อร้องเรียนจากชุมชน

          - จำนวนคำชมการไว้วางใจของชุมชนในการมารับบริการ

          - การบริจาค (สิ่งของ,เงิน,เครื่องมือทางการแพทย์,แรงกาย,กิจกรรมภาพ)